เมนู

9. สุปัณณสังยุต



1. สุทธกสูตร



[531] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ 4 จำพวกนี้
4 จำพวกเป็นไฉน ? คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ 1 ครุฑที่เป็นชลาพุชะ 1
ครุฑที่เป็นสังเสทชะ 1 ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กำเนิดของครุฑ 4 จำพวกนี้แล.
จบ สุทธกสูตรที่ 1

9. อรรถกถาสุปัณณสังยุต



อรรถกถาสุทธกสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในสุปัณณสังยุต ดังต่อไปนี้ :-
ครุฑทั้งหลายเรียกว่า สุบรรณ เพราะปีกมีสีสวย. สูตรที่ 1
แม้ในสุปัณณสังยุตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในเพราะเป็นเหตุเกิด
ของเรื่องตามนัยแรกนั่นเอง.
จบ อรรถกถาสุทธกสูตรที่ 1

2. หรติสูตร


[532] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ 4
จำพวกนี้ 4 จำพวกเป็นไฉน ? คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ 1 ครุฑที่เป็น
ชลาพุชะ 1 ครุฑที่เป็นสังเสทชะ 1 ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ 1 ในครุฑ
ทั้ง 4 จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้

นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้ ครุฑที่เป็น
ชลาพุชะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะไปได้ นำนาคที่
เป็นสังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้ ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ย่อมนำนาค
ที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะและสังเสทชะไปได้ นำนาคที่เป็นอุปปาติกะไป
ไม่ได้ ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ
สังเสทชะ และอุปปาติกะไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ
มี 4 จำพวกนี้แล.
จบ หรติสูตรที่ 2

อรรถกถาหรติสูตรที่ 2



บทว่า หรนฺติ แปลว่า เฉี่ยวเอาไป. ก็แลครุฑเหล่านั้น
เมื่อจะเฉี่ยว ก็จะสามารถเฉี่ยวแต่พวกนาคที่ไม่เท่าเทียมกับตน หรือ
ที่เท่ากับตน (เท่านั้น) (แต่) ไม่สามารถเฉี่ยวพวกนาคที่ประณีตกว่าตน
ขึ้นไปได้.
ก็ชื่อว่านาคที่ครุฑเฉี่ยวเอาไปไม่ได้ มี 7 จำพวก คือ นาคที่
ชาติสูงกว่า พวกหนึ่ง นาคกัมพลอัสสดร พวกหนึ่ง นาคธตรฐ พวกหนึ่ง
นาคที่อยู่ในมหาสมุทรสัตตสีทันดร พวกหนึ่ง นาคที่อยู่บนแผ่นดิน
พวกหนึ่ง นาคที่อยู่ที่ภูเขา พวกหนึ่ง นาคที่อยู่ในวิมาน พวกหนึ่ง.
บรรดานาคเหล่านั้น นาคที่เป็นชลาพุชะกำเนิดเป็นต้นสูงกว่า
นาคที่เป็นอัณฑชะกำเนิดเป็นต้น นาคที่เป็นชลาพุชะกำเนิดเป็นต้น
เหล่านั้นอันครุฑเหล่านั้นเฉี่ยวเอาไปไม่ได้. ส่วนนาคพวกกัมพลอัสสดร
เป็นนาคเสนาบดี ครุฑทุกตัวเห็นนาคเหล่านั้นในที่ใดที่หนึ่งแล้วก็